วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สถาปนิก Idol รุ่นพี่ลาดกระบัง




อยากทราบรายละเอียดคร่าวๆเกี่ยวกับประวัติของพี่ค่ะ :
พี่เอ้ (นายสุธี ) ปัจจุบันอายุ 45 ปี เข้าเรียนที่คณะสถาปัตย์ลาดกระบัง เมื่อปี พ.ศ. 2528 ที่ พอเรียนจบก็มีพี่ชื่อว่าพี่กลอยชวนไปทำเกี่ยวกับไซต์งานจริง ชวนไปคุมไซต์เป็นกึ่งๆ Construction Manager ซึ่ง CM เป็นสิ่งที่ใหม่ในตอนนั้นก็เลยสนใจ เพราะง่าตอนเรียนจบใหม่ตอนแรกก็ยังไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร แต่มีอยู่วันนึงพี่จะไปเที่ยวแต่ก็ไปนัดเจอกับเพื่อนก่อน ชื่อพี่ปกรณ์ ซึ่งไปสมัครงานที่ Plan architect ก็เลยไปหาเพื่อนที่ Plan แล้วก็เลยลองสัมภาษณ์ดู ก็เลยได้ไปทำงานกับที่บริษัท PLAN ARCHITECT อยู่ในแผนก Commercial หลังจากทำงานที่บริษัท Plan ประมาณ 7 ปี จะอยู่ในช่วงประมาณปี 2539 เริ่มรู้สึกเบื่องานสถาปัตย์ ก็เลยลาออกไปต่อปริญญาโทที่ Newyork สาขา Theory ที่อยากไป Newyork ก็เพราะว่าเป็นเมืองใหญ่ อยากไปใช้ชีวิต พี่เป็นคนหลงแสงสี ไม่ชอบอยู่บ้านนอก ก็เลยเลือกที่นี่ ในตอนเรียนตอนแรกๆก็ยังงงๆ เพราะว่าตอนนั้นก็ยังใช้คอมไม่เป็น โปรเจคแรกที่ทำเลยทำมือไปเลย ทำให้อาจารย์ที่สอนชอบแล้วก็ชวนไปทำงานด้วย พอเรียนจบก็ทำงานอยู่นิวยอร์คอยู่ 3 ปี จนคุณแม่เสียเลยกลับมาอยู่ที่ไทย ก็ไปเจอพี่ๆสองคนที่ออกจาก Plan มาพอดี พี่เค้าก็ชวนไปทำงานกับเซนทรัล โดยมีพี่เปีย (PIA) ที่เป็นอินทีเรียมาชวนไปทำ ซึ่งเหมือนกับในเวลาทำงานจะต้องมีสถาปนิกไปด้วย เลยไปทำงานกับพี่เปียสักพักจนพี่เปียบอกว่าให้ไปตั้งบริษัท พี่เอ้กับพี่เดชก็เลยร่วมกันตั้งบริษัท PAA Studio ซึ่งก็เป็นบริษัทสถาปนิกที่ส่วนใหญ่แรกเริ่มจะ connect งานกับ PIA ด้วย

 งานที่พี่เอ้เป็นคนออกแบบรู้สึกชอบแล้วก็ประทับใจ : 
ตึก WWW อยู่แถวถนนเพชรบุรี เป็นตึกแถว 4 ห้อง ตอนนั้นที่ีทำก็ลองเอา Glass box มาหุ้ม เพราะว่าเบื่อกระจก กับ Cladding ซึ่งตึกนี่ตอนแรกยังไม่มีใครกล้าทำเพราะยังไม่มีคนเคยเอา Glass box มาก่อสูง 4-5 ชั้น ซึ่งงานนี้มันต้อง research เยอะมาก ต้องไป work กับบริษัท Glass box ประมาณ 5-6 เดือน ซึ่งพี่รู้สึกว่า ในตอนนั้นมันยังใหม่ในไทยกับฟอร์มง่ายๆ ซึ่งมันเป็นเรื่องเกี่ยวกับ Material และเทคโนโลยี


แนวคิดที่พี่เอ้นำมาใช้กับการออกแบบ :  
พี่ว่างานสถาปัตยกรรมเหมือนกับคน พี่ชอบงานที่คนธรรมดาๆที่ไม่มีความรู้เรื่องสถาปัตยกรรมมาดู ซึ่งดูในรอบแรกแล้วรู้สึกเฉยๆ แต่พอเดินผ่านรอบที่ 2-3 ก็จะรู้ว่า เห้ยตึกนี้มันมีอะไรนะ มันมีสิ่งที่น่าสนใจซ่อนอยู่ เหมือนกับคนที่เรามองแวบแรกก็รู้สึกว่าธรรมดา แต่พอคุยไปเรื่อยๆ ก็จะรู้สึกกว่า คนนี้นี่แหละเจ๋งหว่ะ
มันต่างกับคนที่สวยแบบฉูดฉาด มองไปครั้งนึงก็ไม่ได้รู้สึกอยากกลับไปมองอีก เวลาเราดู Architecture เราก็จะรู้ว่าคนออกแบบเป็นยังไง
เวลาที่พี่ทำงานพี่ก็ชอบทำงานที่รู้สึกง่าย Friendly ดึงดูดคน น่าเข้าไปใช้ ถ้าเปรียบกับเพลงก็จะเป็นเพลงอารมณ์ดีพวกเพลงของเฉลียง ประภาส อะไรอย่างงี้ บางทีพี่ก็ไม่ค่อยชอบงานแบบที่เราเข้าไปแล้วรู้สึกเกรงกลัว หรูหราเกินไป งานมันข่มคน แล้วรู้สึกอึดอัด เวลาเข้าไปแล้วมันไม่เป็นตัวของตัวเอง
เวลาที่เราจะเป็น Designer พี่ว่าเราต้องเป็นตัวของตัวเอง เพราะมันจะเวิร์คที่สุด มันจะไปกับเราได้ที่สุด เพราะเวลาพัฒนาแบบมันก็จะเหมือนเติบโตไปกับเรา พี่ว่างานบางงานมันก็มีไว้แค่ให้ดู สุดท้ายเวลาทำงานก็ควรจะทำในสิ่งที่เราถนัด

พี่เอ้คิดยังไงกับ จรรยาบรรณวิชาชีพ แล้วก็การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมคะ?
พี่ไม่รู้ความหมายของจรรยาบรรณ พี่ว่าสถาปนิกต้องคิดเก่ง การคิดเก่งก็ต้องถูกคิดให้ถูกด้วย ในเรื่องการตัดค่าแบบ ไปตัดงานคนอื่นมันก็ต้องดูที่บริบทด้วย เพราะในความเป็นจริงเราต้องเลี้ยงดูคนในบริษัท ถ้าในช่วงนั้นมันจำเปนมันไม่มีงาน มันก็จำเป็นต้องทำ เพราะเราต้องคำนึงถึงธุรกิจด้วย มันเหมือนกับคนรวยพันล้าน บริจาคเงินไปร้อยล้าน กับคนที่มีเงินร้อยนึงบริจาคไปเก้าสิบ พี่ว่าคนที่ไม่มี แต่ก็ยังพยายามทำความดีคนแบบนี้นี่แหละที่เจ๋ง ถึงแม้จำนวนเงินมันจะเทียบกันไม่ได้
แล้วพี่ก็คิดว่าคนที่เลือกทำงานในสายสถาปนิก ลึกๆแล้วมีความฝัน มีอะไรที่เค้าอยากจะสร้างอยากจะทำ ซึ่งงานสถาปนิกนี่ถือว่าเป็นงานที่หนัก ค่าตอบแทนน้อย คนที่ยอมมาอยู่ในสภาพแบบนี้ลึกๆแล้วก็ยังมีอะไรดีดีอยู่แหละ
แล้วพี่ก็คิดว่า งานที่ดี ก็ต้องมาจากความคิดที่ดี คำนึงถึงสิ่งต่างๆ สถาปนิกหรือดีไซเนอร์ก็จะต้องพยายาม keep up ตัวเองเพื่อให้ทันเหตุการณ์และเพิ่มความรู้ให้กับตัวเอง อาจารย์จิ๋วสอนไว้ว่า "ในที่สุดแล้วมันขึ้นอยู่กับตัวมึงว่าจะดูอะไร เป็นอะไร" เหมือนพอถึงจุดนึงเวลาดูนะ เราไม่ดู architecture แต่เราดูการใช้ชีวิตที่เติบโตไป



ในตอนที่พี่เรียนอยู่ที่คณะบรรยากาศคณะเป็นอย่างไรบ้างคะ?
ขณะเรียนพี่ก็ทำกิจกรรมทั่วไป เช่นพวกกิจกรรมกับสโมคณะ ทำเชียร์ หรืออะไรต่างๆ ในช่วงที่พี่เรียนเป็นช่วงที่เศรษฐกิจในประเทศไทยกำลังบูมมากๆ ทำให้มีงานค่อนข้างเยอะ พี่ฝึกงานมาตั้งแต่ปิดเทอมปีสอง ปีสาม ปีสี่ พอขึ้นปีสี่พี่ก็เริ่มรับงานนอก เวลาไปเรียนก็นั่งรถเมล์ไปกลับ เพราะว่าบ้านพี่อยู่ใกล้ อยู่ใกล้ พี่ชอบอยู่คณะ ถ้าช่วงมีกิจกรรมเยอะ หรือเพื่อนมาทำงานสโม พี่ก็จะนอนที่สโมที่เป็นบ้านเล็กๆเรียกว่า บ้านเหลือง   แต่ถ้าเป็นช่วงทำโปรเจคพี่จะรีบไปทำที่บ้าน เพราะทำที่คณะแล้วมันทำไม่เสร็จ



พี่คิดว่าสถาปนิกใหม่ที่ลาดกระบังผลิตออกมาเป็นอย่างไรบ้างคะ? :
พี่ว่าพอเวลาเปลี่ยน สังคมเปลี่ยน คนก็เปลี่ยน เราจะมาคาดหวังให้เด็กเหมือนรุ่นพี่ก็ไม่ได้
แต่พี่ว่าคนเอเชีย ชอบคิดแต่ไม่ชอบพรีเซ้น นี่คือข้อเสียของเรา พี่ว่าสิ่งที่สำคัญคือเราต้องเรียบเรียงออกมาให้ได้ว่า ความคิดของเราทำไมถึงออกมาเป็นแบบนี่ ต้องสื่อสารออกมาให้คนอื่นรู้ ซึ่งพี่ว่าเป็นสิ่งที่ยากมากกว่าการแสดงความคิด Final ซึ่งแบบนี้เป็นสิ่งที่เราควรฝึก เพราะว่าจริงๆสิ่งที่เราเรียนก็คือการฝึกคิด

พี่อยากให้ภาควิชาปรับปรุงการเรียนการสอนยังงัยบ้างคะ? : 
ตอนที่พี่กลับมาจาก Newyork พี่เคยไปช่วย Jury thesis ที่จุฬาอยู่พักนึง พี่รู้สึกว่า บางทีเด็กอาจจะมีความคิดที่ดีกว่าเราอีกนะ เค้าแค่ขาดความมั่นใจ อย่างที่เมืองนอกที่มหาวิทยาลัยดีดีเขาจะไม่ให้อาจารย์สอนหนังสืออย่างเดียว แต่เค้าจะให้อาจารย์ไปทำงานครึ่งปี มาสอนครึ่งปี ซึ่งพี่ว่ามันจะช่วยให้ตัวอาจารย์เองได้อัพเดทด้วย ว่าปัจจุบันตลาดเป็นอย่างไร แต่ในไทยบางมหาลัยเค้าจะห้าม เพราะเค้าคิดว่ามันเป็นการเบียดบังเวลาทำงาน แต่ตอนนี้ที่เกษตรก็เริ่มมีการจัดตั้งเป็นกลุ่มอาจารย์แล้วให้อาจารย์รับงาน เพื่อที่จะช่วยอัพเดทความรู้ของอาจารย์ที่จะนำมาสอนเด็กไปในตัวด้วย พี่ว่าสมัยนี้ข้อมูลมันเยอะ ถ้าความรู้ที่เด็กได้เป์็นแค่ความรู้ในห้องเรียน พี่ว่ามันยังไม่เวิร์คเพราะว่าสมัยนี้แค่เข้าอินเตอร์เนตก็ได้ข้อมูลมามากมายแล้ว แต่ประสบการณ์การทำงานจริงๆ มันหาไม่ได้ง่ายๆ

วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กฎหมายข้อบังคับ และมาตรฐานเรื่องความปลอดภัยในอาคาร เรื่อง ทางหนีไฟ และบันไดหนีไฟ



บันไดหนีไฟ เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางหนีไฟในอาคาร ที่มีกฎหมายอาคารออกข้อบังคับต่าง ๆ ให้ผู้ออกแบบยึดเป็นแนวทางในการออกแบบอาคาร เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้สอยอาคาร กฎหมายอาคารที่ควบคุมรายละเอียดของบันไดหนีไฟ รวมถึงมาตรฐานการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับบันไดหนีไฟ มีดังต่อไปนี้
  1. กฎกระทรวงฉบับที่ 33 (ใช้สำหรับอาคารขนาดใหญ่พิเศษและอาคารสูง)
  2. กฎกระทรวงฉบับที่ 55 (ใช้สำหรับอาคารสูงไม่เกิน 23 เมตร)
  3. ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคารปี พ.ศ. 2544
  4. ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ข้อกำหนดลักษณะแบบของบันไดหนีไฟ และทางหนีไฟทางอากาศของอาคาร พ.ศ. 2531
  5. กฎกระทรวง กำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548
  6. ระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ว่าด้วยมาตรฐานอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ พ.ศ. 2544
จะเห็นได้ว่าในข้อกำหนดและกฎหมาย เกี่ยวกับความปลอดภัยในอาคาร ว่าด้วยเรื่องทางหนีไฟและบันไดหนีไฟนั้น มีหลายตัวบทกฎหมาย และยังมีเนื้อหาที่ค่อนข้างคล้ายกัน เนื่องจากมีการกำหนด และพัฒนาตัวบทกฎหมายขึ้นมาเรื่อยๆ 

  กฎหมายและข้อกำหนดต่างๆนี้ มีการจัดทำขึ้นเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้อาคารหากเกิดกรณีเพลิงไหม้ ดังนั้นสถาปนิกควรจะศึกษา และทราบข้อกำหนดนี้ เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้อาคาร 

 เมื่อเกิดเพลิงใหม้ทั้งในอาคารการหนีไฟจะมี 2 ทาง คือ การหนีไฟทางอากาศ  และการหนีไฟโดยการหนีออกทางด้านล่าง สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการออกแบบทางหนีไฟ และบันไดหนีไฟนั้นควรคำนึงความรวดเร็วในการหนีไฟและความปลอดภัยของผู้คนในอาคาร ดังนั้นในการออกแบบบันไดหนีไฟ และทางหนีไฟ จะต้องออกแบบให้ได้มาตรฐาน







บันไดหนีไฟสำหรับอาคารสูงไม่เกิน 23 เมตร
  1. ผนังทึบ ทนไฟ
  2. ประตูบันไดหนีไฟขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 850 มม สูง 2000 มม พร้อมอุปกรณ์ทำให้บานประตูปิดสนิท บานประตูเปิดเข้าสู่ตัวบันได ยกเว้นชั้นดาดฟ้า หรือชั้นล่างที่เข้า-ออก  เพื่อหนีไฟสู่ภายนอกของอาคาร
  3. บันไดกว้างไม่น้อยกว่า 900 มม และไม่เกิน 1500 มม
  4. ชานพักบันไดระหว่างประตูกับบันไดกว้างไม่น้อยกว่า 1500 มม และไม่น้อยกว่า 1.2 เท่าของความกว้างบันได
  5. ชานพักบันไดกว้างไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได
  6. ลูกนอนของบันไดกว้างไม่น้อยกว่า 220 มม ลูกตั้งสูงไม่เกิน 200มม กรณีที่จะใช้บันไดนี้เป็นบันไดหลักสำหรับผู้พิกาด้วย ต้องออกแบบ ลูกนอนของบันไดกว้างไม่น้อยกว่า 280 มม ลูกตั้งสูงไม่เกิน 150 มม
  7. บันไดหนีไฟภายในอาคาร ต้องจัดให้มีอากาศถ่ายเทจากภายนอกอาคารได้ โดยให้มีพื้นที่รวมกันไม่น้อยกว่า 1.4 ตารางเมตร
  8. ราวจับสูงจากพื้นไม่เกิน 900 มม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 มม เมื่อติดที่ผนังส่วนที่ยื่นออกมาจะต้องไม่เกิน 100 มม
  9. ราวกันตก สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 1100 มม ช่องเปิดของซี่ลูกกรงต้องมีขนาดที่ไม่สามารถให้วัตถุทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 100 มม ลอดได้
  10. ป้ายบอกเลขชั้นของบันได ระบุชั้นล่างสุดและชั้นบนสุดในบันไดหนีไฟ และบอกทิศทางปล่อยออก
  11. ทางปล่อยออกต้องเปิดออกสู่ภายนอกอาคารที่เป็นลานโล่งหนีไฟ คำนวณจากจำนวนผู้ใช้อาคาร และมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1 เมตร

บันไดหนีไฟสำหรับอาคารสูง

อาคารสูง หมายถึงอาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตร
อาคารเหล่านี้  ต้องจัดให้มีระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยซึ่งประกอบด้วยระบบต่างๆ ดังนี้
  1. จัดให้มีความกว้างของผิวจราจรโดยรอบอาคารไม่ต่ำกว่า    เมตร  เพื่อความสะดวก สำหรับให้รถดับเพลิงและรถกู้ภัยต่าง  ๆ  เข้ามาควบคุมเพลิงและช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ 
  2. ติดตั้งแผนผังในแต่ละชั้นของอาคารที่ระบุถึง  ตำแหน่งของห้อง  เส้นทางหนีไฟ  ตู้สายฉีดน้ำอุปกรณ์ดับเพลิง  และลิฟต์สำหรับพนักงานดับเพลิงอย่างชัดเจน
  3. ระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรอง  ต้องแยกเป็นอิสระจากระบบอื่น    เพื่อให้ส่งไฟฟ้าไปยังระบบต่าง ที่จำเป็นสำหรับการดับเพลิงและการหนีไฟได้ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง  และต้องมีไฟสำรองตลอดเวลาสำหรับเครื่องสูบน้ำ  ลิฟต์ดับเพลิง  และระบบสื่อสาร
  4. มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้  ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ 2 ตัว คือ Detector เป็นตัวจับควันหรือความร้อนที่ผิดปกติ  และ  Alarm  เป็นตัวส่งสัญญาณในลักษณะของแสงหรือเสียง
  5. ติดตั้งเครื่องดับเพลิงชนิดยกหิ้วทุกชั้นของอาคาร  เพื่อการควบคุมเพลิงเบื้องต้น และต้องจัดให้มีระบบดับเพลิงอัตโนมัติ  เช่น  Sprinkle  System  ฯลฯ
  6. มีระบบเก็บน้ำสำรอง  สำหรับช่วยอำนวยความสะดวกในการดับเพลิงแก่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงและติดตั้งสายล่อฟ้า  เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายจากฟ้าผ่า
  7. มีบันไดหนีไฟจากชั้นสูงสุดลงสู่ดินอย่างน้อย    แห่ง  โดยจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่หาได้ง่ายและไม่มีสิ่งกีดขวาง 
  8. ผนังและประตูของช่องบันไดหนีไฟภายในอาคารต้องทำจากวัสดุทนไฟ  และไม่ก่อให้เกิดควันไฟ  เช่น  ผนังคอนกรีตเสริมเหล็ก  หรือผนังก่ออิฐทนไฟ  ฯลฯ
  9. ระบบควบคุมควันไฟในช่องบันได  ต้องมีช่องหน้าต่างเพื่อการระบายควันหรือระบบอัดอากาศ  เพื่อช่วยเพิ่มความดันในช่องบันไดให้สูงกว่าภายนอกเป็นการป้องกันควันไม่ให้เข้าไปได้
  10. ประตูหนีไฟต้องทำจากวัสดุทนไฟและเป็นแบบผลักเข้าสู่ด้านในของบันไดหนีไฟ เพื่อความสะดวกในการหนีออกจากตัวอาคาร  ยกเว้นที่ชั้นล่างสุดหรือดาดฟ้าต้องเป็นแบบชนิดผลักออกเพื่อให้ออกจากอาคารได้รวดเร็ว  และประตูทุกบานควรมีระบบปิดได้เองโดยอัตโนมัติ  เพื่อป้องกันไม่ให้ควันไฟไหลเข้ามาช่องบันไดหนีไฟภายในอาคาร  ต้องจัดให้มีแสงสว่างจากระบบไฟฟ้าฉุกเฉิน  พร้อมทั้งมีป้ายบอกชั้นและป้ายบอกทางหนีไฟที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
  11. ดาดฟ้าต้องสามารถใช้เป็นทางหนีไฟที่ต่อเนื่องมาจากบันไดในตัวอาคารได้  โดยต้องจัดให้เป็นที่โล่งและมีความกว้างไม่น้อยกว่า 10x10 เมตร


ผังทางหนีไฟที่ควรแสดงทุกชั้นของอาคาร

รายละเอียดของกฎหมายข้อบังคับ และมาตรฐานเรื่องความปลอดภัยในอาคารกฎกระทรวง ฉบับที่ 47 (พ.ศ. 2540)สำหรับอาคารเก่าที่เป็นอาคารสูงและอาคารสาธารณะ อาคารสูง 4 ชั้นขึ้นไป

  1.  ติดตั้งบันไดหนีไฟที่มิใช่บันไดแนวดิ่ง เพิ่มจากบันไดหลัก
  2. จัดแบบแปลนแผนผังของอาคารแต่ละชั้น ติดไว้ในตำแหน่งที่มองเห็นได้ชัดเจนที่บริเวณห้องโถงหรือหน้าลิฟต์ทุกชั้น และบริเวณชั้นล่างต้องมีแบบแปลนของทุกชั้นเก็บไว้
  3. ติดตั้งเครื่องดับเพลิงแบบมือถือ- ติดตั้งระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ทุกชั้น
  4. ติดตั้งระบบไฟฟ้าส่องสว่างสำรอง
  5. ติดตั้งระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า

กฎกระทรวง ฉบับที่ 48 (พ.ศ. 2540)โครงสร้างอาคาร
  1. ส่วนประกอบของโครงสร้างหลักและทางหนีไฟของอาคารที่มีความสูงเกิน 3 ชั้น ต้องไม่เป็นวัสดุติดไฟ 
  2. โครงสร้างหลักของอาคารต่อไปนี้
    1. คลังสินค้า โรงมหรสพ โรงแรม อาคารชุด สถานพยาบาล
    2. อาคารพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การศึกษา สาธารณสุข และสำนักงาน ที่มีความสูงเกิน 3 ชั้น และมีพื้นที่รวมเกิน 1000 ตารางเมตร ให้ก่อสร้างโครงสร้างหลักโดยใช้วัสดุทนไฟ เสาและคานมีอัตราการทนไฟไม้น้อยกว่า 3 ชั่วโมง พื้นหรือตงมีอัตราการทนไฟไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง

ปรับปรุงกฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535)
  1. อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ต้องมีผนังทนไฟหรือประตูทนไฟ ที่มีอัตราการทนไฟไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง- มีแผนผังอาคารแต่ละชั้นแสดงที่หน้าลิฟต์แต่ละชั้น และให้เก็บแผนผังอาคารของทุกชั้นที่บริเวณชั้นล่าง แสดงตำแหน่งห้องทุกห้อง อุปกรณ์ดับเพลิง ประตู ทางหนีไฟ และลิฟต์ดับเพลิง
  2. ช่องเปิดทะลุตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไปและไม่มีผนังปิดล้อม ต้องจัดให้มีระบบควบคุมการแพร่กระจายของควัน- อาคารสูงต้องมีดาดฟ้า และพื้นที่บนดาดฟ้ากว้างยาวไม่น้อยกว่าด้านละ 10 เมตร



กฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522
ข้อ 27. อาคารที่สูงตั้งแต่สี่ชั้นขึ้นไปและสูงไม่เกิน 23 เมตร หรืออาคารที่สูงสามชั้นและมีดาดฟ้าเหนือชั้นที่สามที่มีพื้นที่เกิน 16 ตารางเมตร นอกจากมีบันไดของอาคารตามปกติแล้ว ต้องมีบันไดหนีไฟทำด้วยวัสดุทนไฟอย่างน้อยหนึ่งแห่ง และต้องมีทางเดินไปยังบันไดหนีไฟนั้นได้โดยไม่มีสิ่งกีดขวาง 
ข้อ 28. บันไดหนีไฟต้องมีความลาดชันน้อยกว่า 60 องศา เว้นแต่ตึกแถวและบ้านแถวที่สูงไม่เกินสี่ชั้น ให้มีบันไดหนีไฟที่มีความลาดชันเกิน 60 องศาได้ และต้องมีชานพักบันไดทุกชั้น 
ข้อ 29. บันไดหนีไฟภายนอกอาคารต้องมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร และต้องมีผนังส่วนที่บันไดหนีไฟพาดผ่านเป็นผนังทึบก่อสร้างด้วยวัสดุถาวรที่เป็นวัสดุทนไฟบันไดหนีไฟตามวรรคหนึ่ง ถ้าทอดไม่ถึงพื้นชั้นล่างของอาคารต้องมีบันไดโลหะที่สามารถเลื่อนหรือยืดหรือหย่อนลงมาจนถึงพื้นชั้นล่างได้
ข้อ 30. บันไดหนีไฟภายในอาคารต้องมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร มีผนังทึบก่อสร้างด้วยวัสดุถาวรที่เป็นวัสดุทนไฟกั้นโดยรอบ เว้นแต่ส่วนที่เป็นช่องระบายอากาศและช่องประตูหนีไฟ และต้องมีอากาศถ่ายเทจากภายนอกอาคารได้โดยแต่ละชั้นต้องมีช่องระบายอากาศที่เปิดสู่ภายนอกอาคารได้มีพื้นที่รวมกันไม่น้อยกว่า 1.4 ตารางเมตร กับต้องมีแสงสว่างให้เพียงพอทั้งกลางวันและกลาง
ข้อ 31. ประตูหนีไฟต้องทำด้วยวัสดุทนไฟ มีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร สูงไม่น้อยกว่า 1.90 เมตร และต้องทำเป็นบานเปิดชนิดผลักออกสู่ภายนอกเท่านั้น กับต้องติดอุปกรณ์ชนิดที่บังคับให้บานประตูปิดได้เอง และต้องสามารถเปิดออกได้โดยสะดวกตลอดเวลา ประตูหรือทางออกสู่บันไดหนีไฟต้องไม่มีธรณีหรือขอบกั้นข้อ 32. พื้นหน้าบันไดหนีไฟต้องกว้างไม่น้อยกว่าความกว้างของบันไดและอีกด้านหนึ่งกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร






ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ข้อกำหนดลักษณะแบบของบันไดหนีไฟ และทางหนีไฟทางอากาศของอาคาร
1. ตึกแถวเพื่อการพาณิชย์หรือพักอาศัยที่มีความสูง 4 ชั้น แต่ละหน่วยต้องมีบันไดหนีไฟเพิ่มเติมจากบันไดหลักในอาคารตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
    1.1 อนุญาตให้ใช้บันไดหนีไฟเป็นบันไดแนวดิ่งหรือบันไดลิงสร้างด้วยวัสดุไม่ติดไฟ และให้ติดตั้งในส่วนที่ว่างทางเดินหลังอาคารได้
    1.2 มีความกว้างไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร ระยะห่างของบันไดแต่ละขั้นไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน60 เซนติเมตร บันไดขั้นล่างสุดท้ายอยู่ห่างจากระดับพื้นดินไม่เกิน 3.50 เมตร1.3 ตำแหน่งที่ติดตั้งต้องอยู่ในทางทิศตรงกันข้ามกับบันไดหลักและอยู่ใกล้กับช่องเปิดของประตูหรือหน้าต่างตึกแถวเพื่อการพาณิชย์หรือพักอาศัยที่มีความสูงเกินกว่า 4 ชั้น ดาดฟ้า แต่ละหน่วยต้องมีบันไดหนีไฟตามที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งและต้องมีชานพักบันไดทุกชั้น
2. อาคารที่ไม่ใช่ตึกแถวตาม ที่มีความสูงตั้งแต่ 4 ชั้น แต่ไม่เกิน 7 ชั้น ดาดฟ้า ต้องมีบันไดหนีไฟภายในหรือภายนอกอาคารเพิ่มเติมจากบันไดหลักในอาคารตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
    2.1 ต้องสร้างด้วยวัสดุไม่ติดไฟ
    2.2 บันไดแต่ละช่วงสูงไม่เกินความสูงระหว่างชั้นของอาคารมีความกว้างไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร ลูกนอนกว้างไม่น้อยกว่า 22 เซนติเมตร และลูกตั้งสูงไม่เกิน 20 เซนติเมตร
    2.3 ตำแหน่งที่ตั้งต้องมีระยะระหว่างกึ่งกลางทางเข้าออกสู่ตัวบันไดกับกึ่งกลางประตูห้องสุดท้ายด้านทางเดินที่เป็นทางตัน ไม่เกิน 10 เมตร ในกรณีที่จำเป็นต้องมีบันไดหนีไฟ 2 ตำแหน่ง อนุญาตให้ใช้บันไดหลักเป็นบันไดหนีไฟได้ด้วยโดยมีระยะห่างตามทางเดินระหว่างกึ่งกลางทางเข้าออกบันไดไม่เกิน 60 เมตร
    2.4 ทางเข้าออกหรือช่องประตูสู่บันไดหนีไฟ ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร และสูงไม่น้อยกว่า 2.00เมตร
    2.5 ต้องมีป้ายเรืองแสง หรือเครื่องหมายไฟแสงสว่างด้วยไฟสำรองฉุกเฉินบอกทางออกสู่บันไดหนีไฟ ติดตั้งเป็นระยะตามทางเดินและบริเวณหน้าทางออกสู่บันไดหนีไฟ ทางออกจากบันไดหนีไฟสู่ภายนอกอาคาร หรือชั้นที่มีทางหนีไฟได้ปลอดภัยต่อเนื่อง ให้ติดตั้งป้ายที่มีแสงสว่างข้อความ ทางออก” หรือเครื่องหมายที่มีแสงสว่างแสดงว่าเป็นทางออกให้ชัดเจน
3. โรงมหรสพ หอประชุมที่สร้างสูงเกินหนึ่งชั้น หรืออาคารที่ไม่ใช่ตึกแถวตาม 1 ที่มีความสูงเกิน
7 ชั้น ดาดฟ้า แต่ไม่เกิน 12 ชั้น ดาดฟ้า ต้องมีบันไดหนีไฟภายในหรือภายนอกอาคารเพิ่มเติมจากบันได
หลักในอาคาร ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
    3.1 ต้องสร้างด้วยวัสดุทนไฟ บันไดหนีไฟภายในอาคารต้องมีผนังทนไฟโดยรอบ ส่วนบันไดหนีไฟนอกอาคารต้องมีผนังทนไฟระหว่างบันไดกับตัวอาคาร และผนังทนไฟต้องมีลักษณะดังนี้
         3.1.1 ผนังคอนกรีตเสริมเหล็กความหนาไม่น้อยกว่า 12 เซนติเมตร
         3.1.2 ผนังอิฐ ความหนาไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร
         3.1.3 ผนังคอนกรีตบล๊อค ความหนาไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร
         3.1.4 ผนังวัสดุอย่างอื่น ต้องมีอัตราการทนไฟ ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง
     3.2 บันไดแต่ละช่วงสูงได้ไม่เกินความสูงระหว่างชั้นของอาคารมีความกว้างไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร ลูกนอนกว้างไม่น้อยกว่า 22 เซนติเมตร และลูกตั้งสูงไม่เกิน 20 เซนติเมตร
     3.3 ตำแหน่งที่ตั้งต้องมีระยะระหว่างกึ่งกลางทางเข้าออกสู่ตัวบันไดกับกึ่งกลางประตูห้องสุดท้ายด้านทางเดินที่เป็นทางตัน  ไม่เกิน 10 เมตร  ในกรณีที่จำเป็นต้องมีบันไดหนีไฟ 2 ตำแหน่ง อนุญาตให้ใช้บันไดหลักเป็นบันไดหนีไฟด้วย โดยมีระยะห่างตามทางเดินระหว่างกึ่งกลางทางเข้าออกสู่บันไดไม่เกิน 60 เมตร
     3.4 ทางเข้าออกหรือช่องประตูสู่บันไดหนีไฟต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร และสูงไม่น้อยกว่า 2.00เมตร และต้องมีลักษณะดังนี้
         3.4.1 ช่องทางเข้าออกต้องมีบานประตูและวงกบทำด้วยวัสดุที่สามารถทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง
         3.4.2 มีอุปกรณ์ทำให้บานประตูปิดสนิทเพื่อป้องกันควันและเปลวไฟมิให้เข้าสู่บันไดพร้อมมีอุปกรณ์ควบคุมให้บานประตูปิดอยู่ตลอดเวลาและสามารถผลักเปิดได้ตลอดเวลา แม้ในขณะที่ประตูได้รับความร้อน
         3.4.3 บานประตูต้องเป็นบานเปิดเท่านั้น ห้ามใช้บานเลื่อนและห้ามมีธรณีประตู
         3.4.4 ต้องมีชานพักบันไดระหว่างประตูกับบันไดกว้างไม่น้อยกว่า 1.2 เท่าของความกว้างของบันไดนั้น ๆ
         3.4.5 ทิศทางการเปิดของประตูต้องเปิดเข้าสู่บันไดเท่านั้นนอกจากชั้นดาดฟ้า ชั้นล่างและชั้นที่เข้าออกเพื่อหนีไฟสู่ภายนอกอาคารให้เปิดออกจากห้องบันไดหนีไฟ
         3.4.6 ห้ามติดตั้งสายยู ห่วง โซ่ กลอน หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันที่อาจยึดหรือคล้องกุญแจขัดขวางไม่ให้เปิดประตูจากภายในอาคาร
         3.4.7 กรณีที่ติดตั้งกุญแจกับบานประตูเพื่อป้องกันบุคคลเข้าอาคารจากภายนอกให้ติดตั้งแบบชนิดที่ภายในเปิดออกได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องใช้กุญแจ ส่วนภายนอกเปิดได้โดยใช้กุญแจเท้านั้น
    3.5 ต้องมีป้ายเรืองแสงหรือเครื่องหมายไฟแสงสว่างด้วยไฟสำรองฉุกเฉิน บอกทางออกสู่บันไดหนีไฟติดตั้งเป็นระยะตามทางเดินและบริเวณหน้าประตู หรือทางออกสู่บันไดหนีไฟ ส่วนประตูทางออกจากบันไดหนีไฟสู่ภายนอกอาคารหรือชั้นที่มีทางหนีไฟได้ปลอดภัยต่อเนื่องให้ติดตั้งป้ายที่มีแสงสว่างข้อความ ทางออก” หรือเครื่องหมายที่มีแสงสว่างแสดงว่าเป็นทางออกให้ชัดเจน
    3.6 บันไดหนีไฟภายในอาคารต้องทำเป็นห้องบันไดหนีไฟที่มีระบบอัดลมภายในความดันขณะใช้งาน 0.25-0.38มิลลิเมตรของน้ำ ทำงานเป็นแบบอัตโนมัติโดยแหล่งไฟฟ้าสำรองฉุกเฉินเมื่อเกิดเพลิงไหม้
    3.7 บันไดหนีไฟภายในหรือภายนอกอาคาร ที่มีผนังสามารถเปิดระบายอากาศได้ ต้องมีช่องเปิดทุกชั้นเพื่อช่วยระบายอากาศ
    3.8 ภายในบันไดหนีไฟจะต้องไม่มีสิ่งกีดขวางทางหนีไฟสามารถหนีไฟทางบันไดต่อเนื่องกันถึงระดับดินหรือออกสู่ภายนอกอาคารที่ระดับไม่ต่ำกว่าชั้นสองได้โดยสะดวกและปลอดภัย ต้องมีเฉพาะประตูทางเข้าและทางออกฉุกเฉินเท่านั้น ห้ามทำประตูเชื่อมต่อกับห้องอื่น เช่น ห้องสุขา ห้องเก็บของ เป็นต้น และต้องมีหมายเลขบอกชั้นของอาคารภายในบันไดหนีไฟ
    3.9 ต้องมีระบบการให้แสงสว่างฉุกเฉินภายในบันไดหนีไฟและหน้าบันไดหนีไฟ โดยใช้พลังงานไฟฟ้าสำรองฉุกเฉินอย่างเพียงพอที่สามารถให้แสงสว่างได้ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง แสงสว่างจะต้องเปิดโดยอัตโนมัติทันทีที่กระแสไฟฟ้าในอาคารขัดข้อง
4. อาคารที่ไม่ใช่ตึกแถวตาม 1 ที่มีความสูงเกิน 12 ชั้น ขึ้นไปกำหนดให้มีบันไดหนีไฟเหมือนอาคารตาม 3 แต่ทางหนีไฟที่ต่อเชื่อมระหว่างบันไดหนีไฟที่แยกอยู่คนละที่ไม่ต่อเนื่องกัน ต้องจัดให้มีระบบอัดลมภายในตาม 3.6 ด้วย ส่วนบันไดหลักหรือบันไดอื่นที่ใช้สำหรับติดต่อระหว่างชั้น ตั้งแต่ชั้น 3 ขึ้นไป ให้ออกแบบให้ใช้เป็นบันไดหนีไฟเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งบันไดด้วย
5. อาคารที่มีพื้นที่ใช้สอยอยู่ต่ำกว่าระดับดินมากกว่า 2 ชั้น ต้องมีบันไดหนีไฟสู่ระดับพื้นดินเป็นระบบบันไดหนีไฟภายในอาคารดังรายละเอียดที่กำหนดไว้ตาม 46. อาคารที่สูงเกิน 7 ชั้น ให้มีพื้นที่ดาดฟ้าส่วนหนึ่งเป็นที่ว่างเพื่อใช้เป็นทางหนีไฟทางอากาศได้และต้องจัดให้มีทางหนีไฟบนชั้นดาดฟ้านำไปสู่บันไดหนีไฟได้อีกทางหนึ่ง หรือมีอุปกรณ์เครื่องช่วยในการหนีไฟจากอาคารลงสู่พื้นดินได้โดยปลอดภัย







ที่มา : http://fenntarkoon.wordpress.com/2012/10/05/fire-stair-desig/\
         http://www.fire2fight.com/articles.php?article_id=40
         http://fire-safety-center.blogspot.com/2012/07/47.html