บันไดหนีไฟ เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางหนีไฟในอาคาร ที่มีกฎหมายอาคารออกข้อบังคับต่าง ๆ ให้ผู้ออกแบบยึดเป็นแนวทางในการออกแบบอาคาร เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้สอยอาคาร กฎหมายอาคารที่ควบคุมรายละเอียดของบันไดหนีไฟ รวมถึงมาตรฐานการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับบันไดหนีไฟ มีดังต่อไปนี้
- กฎกระทรวงฉบับที่ 33 (ใช้สำหรับอาคารขนาดใหญ่พิเศษและอาคารสูง)
- กฎกระทรวงฉบับที่ 55 (ใช้สำหรับอาคารสูงไม่เกิน 23 เมตร)
- ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคารปี พ.ศ. 2544
- ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ข้อกำหนดลักษณะแบบของบันไดหนีไฟ และทางหนีไฟทางอากาศของอาคาร พ.ศ. 2531
- กฎกระทรวง กำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548
- ระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ว่าด้วยมาตรฐานอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ พ.ศ. 2544
จะเห็นได้ว่าในข้อกำหนดและกฎหมาย เกี่ยวกับความปลอดภัยในอาคาร ว่าด้วยเรื่องทางหนีไฟและบันไดหนีไฟนั้น มีหลายตัวบทกฎหมาย และยังมีเนื้อหาที่ค่อนข้างคล้ายกัน เนื่องจากมีการกำหนด และพัฒนาตัวบทกฎหมายขึ้นมาเรื่อยๆ
กฎหมายและข้อกำหนดต่างๆนี้ มีการจัดทำขึ้นเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้อาคารหากเกิดกรณีเพลิงไหม้ ดังนั้นสถาปนิกควรจะศึกษา และทราบข้อกำหนดนี้ เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้อาคาร
บันไดหนีไฟสำหรับอาคารสูงไม่เกิน 23 เมตร
- ผนังทึบ ทนไฟ
- ประตูบันไดหนีไฟขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 850 มม สูง 2000 มม พร้อมอุปกรณ์ทำให้บานประตูปิดสนิท บานประตูเปิดเข้าสู่ตัวบันได ยกเว้นชั้นดาดฟ้า หรือชั้นล่างที่เข้า-ออก เพื่อหนีไฟสู่ภายนอกของอาคาร
- บันไดกว้างไม่น้อยกว่า 900 มม และไม่เกิน 1500 มม
- ชานพักบันไดระหว่างประตูกับบันไดกว้างไม่น้อยกว่า 1500 มม และไม่น้อยกว่า 1.2 เท่าของความกว้างบันได
- ชานพักบันไดกว้างไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได
- ลูกนอนของบันไดกว้างไม่น้อยกว่า 220 มม ลูกตั้งสูงไม่เกิน 200มม กรณีที่จะใช้บันไดนี้เป็นบันไดหลักสำหรับผู้พิกาด้วย ต้องออกแบบ ลูกนอนของบันไดกว้างไม่น้อยกว่า 280 มม ลูกตั้งสูงไม่เกิน 150 มม
- บันไดหนีไฟภายในอาคาร ต้องจัดให้มีอากาศถ่ายเทจากภายนอกอาคารได้ โดยให้มีพื้นที่รวมกันไม่น้อยกว่า 1.4 ตารางเมตร
- ราวจับสูงจากพื้นไม่เกิน 900 มม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 มม เมื่อติดที่ผนังส่วนที่ยื่นออกมาจะต้องไม่เกิน 100 มม
- ราวกันตก สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 1100 มม ช่องเปิดของซี่ลูกกรงต้องมีขนาดที่ไม่สามารถให้วัตถุทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 100 มม ลอดได้
- ป้ายบอกเลขชั้นของบันได ระบุชั้นล่างสุดและชั้นบนสุดในบันไดหนีไฟ และบอกทิศทางปล่อยออก
- ทางปล่อยออกต้องเปิดออกสู่ภายนอกอาคารที่เป็นลานโล่งหนีไฟ คำนวณจากจำนวนผู้ใช้อาคาร และมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1 เมตร
บันไดหนีไฟสำหรับอาคารสูง
อาคารสูง หมายถึงอาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตร
อาคารเหล่านี้ ต้องจัดให้มีระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยซึ่งประกอบด้วยระบบต่างๆ ดังนี้
- จัดให้มีความกว้างของผิวจราจรโดยรอบอาคารไม่ต่ำกว่า ๖ เมตร เพื่อความสะดวก สำหรับให้รถดับเพลิงและรถกู้ภัยต่าง ๆ เข้ามาควบคุมเพลิงและช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ
- ติดตั้งแผนผังในแต่ละชั้นของอาคารที่ระบุถึง ตำแหน่งของห้อง เส้นทางหนีไฟ ตู้สายฉีดน้ำอุปกรณ์ดับเพลิง และลิฟต์สำหรับพนักงานดับเพลิงอย่างชัดเจน
- ระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรอง ต้องแยกเป็นอิสระจากระบบอื่น ๆ เพื่อให้ส่งไฟฟ้าไปยังระบบต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการดับเพลิงและการหนีไฟได้ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง และต้องมีไฟสำรองตลอดเวลาสำหรับเครื่องสูบน้ำ ลิฟต์ดับเพลิง และระบบสื่อสาร
- มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ 2 ตัว คือ Detector เป็นตัวจับควันหรือความร้อนที่ผิดปกติ และ Alarm เป็นตัวส่งสัญญาณในลักษณะของแสงหรือเสียง
- ติดตั้งเครื่องดับเพลิงชนิดยกหิ้วทุกชั้นของอาคาร เพื่อการควบคุมเพลิงเบื้องต้น และต้องจัดให้มีระบบดับเพลิงอัตโนมัติ เช่น Sprinkle System ฯลฯ
- มีระบบเก็บน้ำสำรอง สำหรับช่วยอำนวยความสะดวกในการดับเพลิงแก่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงและติดตั้งสายล่อฟ้า เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายจากฟ้าผ่า
- มีบันไดหนีไฟจากชั้นสูงสุดลงสู่ดินอย่างน้อย ๒ แห่ง โดยจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่หาได้ง่ายและไม่มีสิ่งกีดขวาง
- ผนังและประตูของช่องบันไดหนีไฟภายในอาคารต้องทำจากวัสดุทนไฟ และไม่ก่อให้เกิดควันไฟ เช่น ผนังคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือผนังก่ออิฐทนไฟ ฯลฯ
- ระบบควบคุมควันไฟในช่องบันได ต้องมีช่องหน้าต่างเพื่อการระบายควันหรือระบบอัดอากาศ เพื่อช่วยเพิ่มความดันในช่องบันไดให้สูงกว่าภายนอกเป็นการป้องกันควันไม่ให้เข้าไปได้
- ประตูหนีไฟต้องทำจากวัสดุทนไฟและเป็นแบบผลักเข้าสู่ด้านในของบันไดหนีไฟ เพื่อความสะดวกในการหนีออกจากตัวอาคาร ยกเว้นที่ชั้นล่างสุดหรือดาดฟ้าต้องเป็นแบบชนิดผลักออกเพื่อให้ออกจากอาคารได้รวดเร็ว และประตูทุกบานควรมีระบบปิดได้เองโดยอัตโนมัติ เพื่อป้องกันไม่ให้ควันไฟไหลเข้ามาช่องบันไดหนีไฟภายในอาคาร ต้องจัดให้มีแสงสว่างจากระบบไฟฟ้าฉุกเฉิน พร้อมทั้งมีป้ายบอกชั้นและป้ายบอกทางหนีไฟที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
- ดาดฟ้าต้องสามารถใช้เป็นทางหนีไฟที่ต่อเนื่องมาจากบันไดในตัวอาคารได้ โดยต้องจัดให้เป็นที่โล่งและมีความกว้างไม่น้อยกว่า 10x10 เมตร
ผังทางหนีไฟที่ควรแสดงทุกชั้นของอาคาร
รายละเอียดของกฎหมายข้อบังคับ และมาตรฐานเรื่องความปลอดภัยในอาคารกฎกระทรวง ฉบับที่ 47 (พ.ศ. 2540)สำหรับอาคารเก่าที่เป็นอาคารสูงและอาคารสาธารณะ อาคารสูง 4 ชั้นขึ้นไป
- ติดตั้งบันไดหนีไฟที่มิใช่บันไดแนวดิ่ง เพิ่มจากบันไดหลัก
- จัดแบบแปลนแผนผังของอาคารแต่ละชั้น ติดไว้ในตำแหน่งที่มองเห็นได้ชัดเจนที่บริเวณห้องโถงหรือหน้าลิฟต์ทุกชั้น และบริเวณชั้นล่างต้องมีแบบแปลนของทุกชั้นเก็บไว้
- ติดตั้งเครื่องดับเพลิงแบบมือถือ- ติดตั้งระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ทุกชั้น
- ติดตั้งระบบไฟฟ้าส่องสว่างสำรอง
- ติดตั้งระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า
กฎกระทรวง ฉบับที่ 48 (พ.ศ. 2540)โครงสร้างอาคาร
- ส่วนประกอบของโครงสร้างหลักและทางหนีไฟของอาคารที่มีความสูงเกิน 3 ชั้น ต้องไม่เป็นวัสดุติดไฟ
- โครงสร้างหลักของอาคารต่อไปนี้
- คลังสินค้า โรงมหรสพ โรงแรม อาคารชุด สถานพยาบาล
- อาคารพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การศึกษา สาธารณสุข และสำนักงาน ที่มีความสูงเกิน 3 ชั้น และมีพื้นที่รวมเกิน 1000 ตารางเมตร ให้ก่อสร้างโครงสร้างหลักโดยใช้วัสดุทนไฟ เสาและคานมีอัตราการทนไฟไม้น้อยกว่า 3 ชั่วโมง พื้นหรือตงมีอัตราการทนไฟไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง
- อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ต้องมีผนังทนไฟหรือประตูทนไฟ ที่มีอัตราการทนไฟไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง- มีแผนผังอาคารแต่ละชั้นแสดงที่หน้าลิฟต์แต่ละชั้น และให้เก็บแผนผังอาคารของทุกชั้นที่บริเวณชั้นล่าง แสดงตำแหน่งห้องทุกห้อง อุปกรณ์ดับเพลิง ประตู ทางหนีไฟ และลิฟต์ดับเพลิง
- ช่องเปิดทะลุตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไปและไม่มีผนังปิดล้อม ต้องจัดให้มีระบบควบคุมการแพร่กระจายของควัน- อาคารสูงต้องมีดาดฟ้า และพื้นที่บนดาดฟ้ากว้างยาวไม่น้อยกว่าด้านละ 10 เมตร
กฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522
ข้อ 27. อาคารที่สูงตั้งแต่สี่ชั้นขึ้นไปและสูงไม่เกิน 23 เมตร หรืออาคารที่สูงสามชั้นและมีดาดฟ้าเหนือชั้นที่สามที่มีพื้นที่เกิน 16 ตารางเมตร นอกจากมีบันไดของอาคารตามปกติแล้ว ต้องมีบันไดหนีไฟทำด้วยวัสดุทนไฟอย่างน้อยหนึ่งแห่ง และต้องมีทางเดินไปยังบันไดหนีไฟนั้นได้โดยไม่มีสิ่งกีดขวาง
ข้อ 28. บันไดหนีไฟต้องมีความลาดชันน้อยกว่า 60 องศา เว้นแต่ตึกแถวและบ้านแถวที่สูงไม่เกินสี่ชั้น ให้มีบันไดหนีไฟที่มีความลาดชันเกิน 60 องศาได้ และต้องมีชานพักบันไดทุกชั้น
ข้อ 29. บันไดหนีไฟภายนอกอาคารต้องมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร และต้องมีผนังส่วนที่บันไดหนีไฟพาดผ่านเป็นผนังทึบก่อสร้างด้วยวัสดุถาวรที่เป็นวัสดุทนไฟบันไดหนีไฟตามวรรคหนึ่ง ถ้าทอดไม่ถึงพื้นชั้นล่างของอาคารต้องมีบันไดโลหะที่สามารถเลื่อนหรือยืดหรือหย่อนลงมาจนถึงพื้นชั้นล่างได้
ข้อ 30. บันไดหนีไฟภายในอาคารต้องมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร มีผนังทึบก่อสร้างด้วยวัสดุถาวรที่เป็นวัสดุทนไฟกั้นโดยรอบ เว้นแต่ส่วนที่เป็นช่องระบายอากาศและช่องประตูหนีไฟ และต้องมีอากาศถ่ายเทจากภายนอกอาคารได้โดยแต่ละชั้นต้องมีช่องระบายอากาศที่เปิดสู่ภายนอกอาคารได้มีพื้นที่รวมกันไม่น้อยกว่า 1.4 ตารางเมตร กับต้องมีแสงสว่างให้เพียงพอทั้งกลางวันและกลาง
ข้อ 31. ประตูหนีไฟต้องทำด้วยวัสดุทนไฟ มีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร สูงไม่น้อยกว่า 1.90 เมตร และต้องทำเป็นบานเปิดชนิดผลักออกสู่ภายนอกเท่านั้น กับต้องติดอุปกรณ์ชนิดที่บังคับให้บานประตูปิดได้เอง และต้องสามารถเปิดออกได้โดยสะดวกตลอดเวลา ประตูหรือทางออกสู่บันไดหนีไฟต้องไม่มีธรณีหรือขอบกั้นข้อ 32. พื้นหน้าบันไดหนีไฟต้องกว้างไม่น้อยกว่าความกว้างของบันไดและอีกด้านหนึ่งกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร
ข้อ 27. อาคารที่สูงตั้งแต่สี่ชั้นขึ้นไปและสูงไม่เกิน 23 เมตร หรืออาคารที่สูงสามชั้นและมีดาดฟ้าเหนือชั้นที่สามที่มีพื้นที่เกิน 16 ตารางเมตร นอกจากมีบันไดของอาคารตามปกติแล้ว ต้องมีบันไดหนีไฟทำด้วยวัสดุทนไฟอย่างน้อยหนึ่งแห่ง และต้องมีทางเดินไปยังบันไดหนีไฟนั้นได้โดยไม่มีสิ่งกีดขวาง
ข้อ 28. บันไดหนีไฟต้องมีความลาดชันน้อยกว่า 60 องศา เว้นแต่ตึกแถวและบ้านแถวที่สูงไม่เกินสี่ชั้น ให้มีบันไดหนีไฟที่มีความลาดชันเกิน 60 องศาได้ และต้องมีชานพักบันไดทุกชั้น
ข้อ 29. บันไดหนีไฟภายนอกอาคารต้องมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร และต้องมีผนังส่วนที่บันไดหนีไฟพาดผ่านเป็นผนังทึบก่อสร้างด้วยวัสดุถาวรที่เป็นวัสดุทนไฟบันไดหนีไฟตามวรรคหนึ่ง ถ้าทอดไม่ถึงพื้นชั้นล่างของอาคารต้องมีบันไดโลหะที่สามารถเลื่อนหรือยืดหรือหย่อนลงมาจนถึงพื้นชั้นล่างได้
ข้อ 30. บันไดหนีไฟภายในอาคารต้องมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร มีผนังทึบก่อสร้างด้วยวัสดุถาวรที่เป็นวัสดุทนไฟกั้นโดยรอบ เว้นแต่ส่วนที่เป็นช่องระบายอากาศและช่องประตูหนีไฟ และต้องมีอากาศถ่ายเทจากภายนอกอาคารได้โดยแต่ละชั้นต้องมีช่องระบายอากาศที่เปิดสู่ภายนอกอาคารได้มีพื้นที่รวมกันไม่น้อยกว่า 1.4 ตารางเมตร กับต้องมีแสงสว่างให้เพียงพอทั้งกลางวันและกลาง
ข้อ 31. ประตูหนีไฟต้องทำด้วยวัสดุทนไฟ มีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร สูงไม่น้อยกว่า 1.90 เมตร และต้องทำเป็นบานเปิดชนิดผลักออกสู่ภายนอกเท่านั้น กับต้องติดอุปกรณ์ชนิดที่บังคับให้บานประตูปิดได้เอง และต้องสามารถเปิดออกได้โดยสะดวกตลอดเวลา ประตูหรือทางออกสู่บันไดหนีไฟต้องไม่มีธรณีหรือขอบกั้นข้อ 32. พื้นหน้าบันไดหนีไฟต้องกว้างไม่น้อยกว่าความกว้างของบันไดและอีกด้านหนึ่งกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ข้อกำหนดลักษณะแบบของบันไดหนีไฟ และทางหนีไฟทางอากาศของอาคาร
1. ตึกแถวเพื่อการพาณิชย์หรือพักอาศัยที่มีความสูง 4 ชั้น แต่ละหน่วยต้องมีบันไดหนีไฟเพิ่มเติมจากบันไดหลักในอาคารตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
1.1 อนุญาตให้ใช้บันไดหนีไฟเป็นบันไดแนวดิ่งหรือบันไดลิงสร้างด้วยวัสดุไม่ติดไฟ และให้ติดตั้งในส่วนที่ว่างทางเดินหลังอาคารได้
1.2 มีความกว้างไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร ระยะห่างของบันไดแต่ละขั้นไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน60 เซนติเมตร บันไดขั้นล่างสุดท้ายอยู่ห่างจากระดับพื้นดินไม่เกิน 3.50 เมตร 1.3 ตำแหน่งที่ติดตั้งต้องอยู่ในทางทิศตรงกันข้ามกับบันไดหลักและอยู่ใกล้กับช่องเปิดของประตูหรือหน้าต่างตึกแถวเพื่อการพาณิชย์หรือพักอาศัยที่มีความสูงเกินกว่า 4 ชั้น ดาดฟ้า แต่ละหน่วยต้องมีบันไดหนีไฟตามที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งและต้องมีชานพักบันไดทุกชั้น
2. อาคารที่ไม่ใช่ตึกแถวตาม 1 ที่มีความสูงตั้งแต่ 4 ชั้น แต่ไม่เกิน 7 ชั้น ดาดฟ้า ต้องมีบันไดหนีไฟภายในหรือภายนอกอาคารเพิ่มเติมจากบันไดหลักในอาคารตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
2.1 ต้องสร้างด้วยวัสดุไม่ติดไฟ
2.2 บันไดแต่ละช่วงสูงไม่เกินความสูงระหว่างชั้นของอาคารมีความกว้างไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร ลูกนอนกว้างไม่น้อยกว่า 22 เซนติเมตร และลูกตั้งสูงไม่เกิน 20 เซนติเมตร
2.3 ตำแหน่งที่ตั้งต้องมีระยะระหว่างกึ่งกลางทางเข้าออกสู่ตัวบันไดกับกึ่งกลางประตูห้องสุดท้ายด้านทางเดินที่เป็นทางตัน ไม่เกิน 10 เมตร ในกรณีที่จำเป็นต้องมีบันไดหนีไฟ 2 ตำแหน่ง อนุญาตให้ใช้บันไดหลักเป็นบันไดหนีไฟได้ด้วยโดยมีระยะห่างตามทางเดินระหว่างกึ่งกลางทางเข้าออกบันไดไม่เกิน 60 เมตร
2.4 ทางเข้าออกหรือช่องประตูสู่บันไดหนีไฟ ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร และสูงไม่น้อยกว่า 2.00เมตร
2.5 ต้องมีป้ายเรืองแสง หรือเครื่องหมายไฟแสงสว่างด้วยไฟสำรองฉุกเฉินบอกทางออกสู่บันไดหนีไฟ ติดตั้งเป็นระยะตามทางเดินและบริเวณหน้าทางออกสู่บันไดหนีไฟ ทางออกจากบันไดหนีไฟสู่ภายนอกอาคาร หรือชั้นที่มีทางหนีไฟได้ปลอดภัยต่อเนื่อง ให้ติดตั้งป้ายที่มีแสงสว่างข้อความ “ทางออก” หรือเครื่องหมายที่มีแสงสว่างแสดงว่าเป็นทางออกให้ชัดเจน
3. โรงมหรสพ หอประชุมที่สร้างสูงเกินหนึ่งชั้น หรืออาคารที่ไม่ใช่ตึกแถวตาม 1 ที่มีความสูงเกิน
7 ชั้น ดาดฟ้า แต่ไม่เกิน 12 ชั้น ดาดฟ้า ต้องมีบันไดหนีไฟภายในหรือภายนอกอาคารเพิ่มเติมจากบันได
หลักในอาคาร ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
3.1 ต้องสร้างด้วยวัสดุทนไฟ บันไดหนีไฟภายในอาคารต้องมีผนังทนไฟโดยรอบ ส่วนบันไดหนีไฟนอกอาคารต้องมีผนังทนไฟระหว่างบันไดกับตัวอาคาร และผนังทนไฟต้องมีลักษณะดังนี้
3.1.1 ผนังคอนกรีตเสริมเหล็กความหนาไม่น้อยกว่า 12 เซนติเมตร
3.1.2 ผนังอิฐ ความหนาไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร
3.1.3 ผนังคอนกรีตบล๊อค ความหนาไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร
3.1.4 ผนังวัสดุอย่างอื่น ต้องมีอัตราการทนไฟ ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง
3.2 บันไดแต่ละช่วงสูงได้ไม่เกินความสูงระหว่างชั้นของอาคารมีความกว้างไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร ลูกนอนกว้างไม่น้อยกว่า 22 เซนติเมตร และลูกตั้งสูงไม่เกิน 20 เซนติเมตร
3.3 ตำแหน่งที่ตั้งต้องมีระยะระหว่างกึ่งกลางทางเข้าออกสู่ตัวบันไดกับกึ่งกลางประตูห้องสุดท้ายด้านทางเดินที่เป็นทางตัน ไม่เกิน 10 เมตร ในกรณีที่จำเป็นต้องมีบันไดหนีไฟ 2 ตำแหน่ง อนุญาตให้ใช้บันไดหลักเป็นบันไดหนีไฟด้วย โดยมีระยะห่างตามทางเดินระหว่างกึ่งกลางทางเข้าออกสู่บันไดไม่เกิน 60 เมตร
3.4 ทางเข้าออกหรือช่องประตูสู่บันไดหนีไฟต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร และสูงไม่น้อยกว่า 2.00เมตร และต้องมีลักษณะดังนี้
3.4.1 ช่องทางเข้าออกต้องมีบานประตูและวงกบทำด้วยวัสดุที่สามารถทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง
3.4.2 มีอุปกรณ์ทำให้บานประตูปิดสนิทเพื่อป้องกันควันและเปลวไฟมิให้เข้าสู่บันไดพร้อมมีอุปกรณ์ควบคุมให้บานประตูปิดอยู่ตลอดเวลาและสามารถผลักเปิดได้ตลอดเวลา แม้ในขณะที่ประตูได้รับความร้อน
3.4.3 บานประตูต้องเป็นบานเปิดเท่านั้น ห้ามใช้บานเลื่อนและห้ามมีธรณีประตู
3.4.4 ต้องมีชานพักบันไดระหว่างประตูกับบันไดกว้างไม่น้อยกว่า 1.2 เท่าของความกว้างของบันไดนั้น ๆ
3.4.5 ทิศทางการเปิดของประตูต้องเปิดเข้าสู่บันไดเท่านั้นนอกจากชั้นดาดฟ้า ชั้นล่างและชั้นที่เข้าออกเพื่อหนีไฟสู่ภายนอกอาคารให้เปิดออกจากห้องบันไดหนีไฟ
3.4.6 ห้ามติดตั้งสายยู ห่วง โซ่ กลอน หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันที่อาจยึดหรือคล้องกุญแจขัดขวางไม่ให้เปิดประตูจากภายในอาคาร
3.4.7 กรณีที่ติดตั้งกุญแจกับบานประตูเพื่อป้องกันบุคคลเข้าอาคารจากภายนอกให้ติดตั้งแบบชนิดที่ภายในเปิดออกได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องใช้กุญแจ ส่วนภายนอกเปิดได้โดยใช้กุญแจเท้านั้น
3.5 ต้องมีป้ายเรืองแสงหรือเครื่องหมายไฟแสงสว่างด้วยไฟสำรองฉุกเฉิน บอกทางออกสู่บันไดหนีไฟติดตั้งเป็นระยะตามทางเดินและบริเวณหน้าประตู หรือทางออกสู่บันไดหนีไฟ ส่วนประตูทางออกจากบันไดหนีไฟสู่ภายนอกอาคารหรือชั้นที่มีทางหนีไฟได้ปลอดภัยต่อเนื่องให้ติดตั้งป้ายที่มีแสงสว่างข้อความ “ทางออก” หรือเครื่องหมายที่มีแสงสว่างแสดงว่าเป็นทางออกให้ชัดเจน
3.6 บันไดหนีไฟภายในอาคารต้องทำเป็นห้องบันไดหนีไฟที่มีระบบอัดลมภายในความดันขณะใช้งาน 0.25-0.38มิลลิเมตรของน้ำ ทำงานเป็นแบบอัตโนมัติโดยแหล่งไฟฟ้าสำรองฉุกเฉินเมื่อเกิดเพลิงไหม้
3.7 บันไดหนีไฟภายในหรือภายนอกอาคาร ที่มีผนังสามารถเปิดระบายอากาศได้ ต้องมีช่องเปิดทุกชั้นเพื่อช่วยระบายอากาศ
3.8 ภายในบันไดหนีไฟจะต้องไม่มีสิ่งกีดขวางทางหนีไฟสามารถหนีไฟทางบันไดต่อเนื่องกันถึงระดับดินหรือออกสู่ภายนอกอาคารที่ระดับไม่ต่ำกว่าชั้นสองได้โดยสะดวกและปลอดภัย ต้องมีเฉพาะประตูทางเข้าและทางออกฉุกเฉินเท่านั้น ห้ามทำประตูเชื่อมต่อกับห้องอื่น เช่น ห้องสุขา ห้องเก็บของ เป็นต้น และต้องมีหมายเลขบอกชั้นของอาคารภายในบันไดหนีไฟ
3.9 ต้องมีระบบการให้แสงสว่างฉุกเฉินภายในบันไดหนีไฟและหน้าบันไดหนีไฟ โดยใช้พลังงานไฟฟ้าสำรองฉุกเฉินอย่างเพียงพอที่สามารถให้แสงสว่างได้ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง แสงสว่างจะต้องเปิดโดยอัตโนมัติทันทีที่กระแสไฟฟ้าในอาคารขัดข้อง
4. อาคารที่ไม่ใช่ตึกแถวตาม 1 ที่มีความสูงเกิน 12 ชั้น ขึ้นไปกำหนดให้มีบันไดหนีไฟเหมือนอาคารตาม 3 แต่ทางหนีไฟที่ต่อเชื่อมระหว่างบันไดหนีไฟที่แยกอยู่คนละที่ไม่ต่อเนื่องกัน ต้องจัดให้มีระบบอัดลมภายในตาม 3.6 ด้วย ส่วนบันไดหลักหรือบันไดอื่นที่ใช้สำหรับติดต่อระหว่างชั้น ตั้งแต่ชั้น 3 ขึ้นไป ให้ออกแบบให้ใช้เป็นบันไดหนีไฟเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งบันไดด้วย
5. อาคารที่มีพื้นที่ใช้สอยอยู่ต่ำกว่าระดับดินมากกว่า 2 ชั้น ต้องมีบันไดหนีไฟสู่ระดับพื้นดินเป็นระบบบันไดหนีไฟภายในอาคารดังรายละเอียดที่กำหนดไว้ตาม 46. อาคารที่สูงเกิน 7 ชั้น ให้มีพื้นที่ดาดฟ้าส่วนหนึ่งเป็นที่ว่างเพื่อใช้เป็นทางหนีไฟทางอากาศได้และต้องจัดให้มีทางหนีไฟบนชั้นดาดฟ้านำไปสู่บันไดหนีไฟได้อีกทางหนึ่ง หรือมีอุปกรณ์เครื่องช่วยในการหนีไฟจากอาคารลงสู่พื้นดินได้โดยปลอดภัย
1. ตึกแถวเพื่อการพาณิชย์หรือพักอาศัยที่มีความสูง 4 ชั้น แต่ละหน่วยต้องมีบันไดหนีไฟเพิ่มเติมจากบันไดหลักในอาคารตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
3.1 ต้องสร้างด้วยวัสดุทนไฟ บันไดหนีไฟภายในอาคารต้องมีผนังทนไฟโดยรอบ ส่วนบันไดหนีไฟนอกอาคารต้องมีผนังทนไฟระหว่างบันไดกับตัวอาคาร และผนังทนไฟต้องมีลักษณะดังนี้
ที่มา : http://fenntarkoon.wordpress.com/2012/10/05/fire-stair-desig/\
http://www.fire2fight.com/articles.php?article_id=40
http://fire-safety-center.blogspot.com/2012/07/47.html
http://www.fire2fight.com/articles.php?article_id=40
http://fire-safety-center.blogspot.com/2012/07/47.html
ขอบคุณค่ะ มีประโยชน์มากเลย
ตอบลบมีประโยชน์มากๆครับ
ตอบลบขอเป็นภาษาอังกฤษมีมั้ยครับเจ้านายอยากเอาไว้ตอบคำถามลูกค้าต่างชาติ
ตอบลบหากท่านใดสนใจประตูทนไฟที่ได้มาตรฐานตามกฎหมาย คุณภาพดี ราคาไม่แพง ติดต่อได้ที่ nudcharee.mpk@gmail.com หรือที่ เบอร์ติดต่อ 02-914-9855 นะค่ะ ยินดีรับใช้ค่ะ
ตอบลบประตูหนีไหในอาคารสามารถหา wall paper สวยๆมาปิดทับให้ดูสวยงามได้หรือไม่
ตอบลบความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ลบประตูหนีไหในอาคารสามารถหา wall paper สวยๆมาปิดทับให้ดูสวยงามได้หรือไม่
ตอบลบไม่ใชความคิดที่ดีนะคะ เป็นวัตถุติดไฟ
ลบขอบคุณมากค่ะ มีประโยชน์มากมายค่ะ
ตอบลบประตูหนีไฟสามารถติดม่านพลาสติกกันแมลงได้ไหมคะ
ตอบลบม่านพลาสติกเป็นวัตถุติดไฟครับ
ลบกฎกระทรวง ฉบับ 50 พ.ศ.2540 ขอ 8 อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญพิเศษที่มีพื้นของอาคารที่ต่ํากว่าระดับถนนหนา
ลบอาคารตั้งแตชั้นที่ 3 ลงไป หรือต่ำกวาระดับถนนหน้าอาคารตั้งแต 7.00 เมตรลงไป ตองจัดใหมี
(1) ระบบลิฟตตามหมวด 6
อยากเรียนถามว่า ลิฟต์ ตามข้อ 8 หมายถึง ลิฟต์โดยสาร หรือ ลิฟต์ดับเพลิง ครับ
ประตูหนีไฟ สามารถใช้เข้าออกในการทำงานในบางโอกาสได้หรือไม่คับ..
ตอบลบขอบคุณครับ มีประโยชน์มากเลยครับ
ตอบลบประตูขึ้นดาดฟ้าควรเป็นแบบใดครับ
ตอบลบ